วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประเภทของรากเทียม

1.รากเทียมแบบผิวเรียบ
     รากเทียมแบบผิวเรียบ (Machine surface) เป็นแบบดั้งเดิมยังมีใช้กันอยู่มาก เนื่องจากใช้ได้ผลดี ราคาไม่สูงนัก มีผลการพิสูจน์ ถึงอายุการใช้งานมานานมาก แต่มีข้อเสียคือ ระยะเวลาในการรักษาจะนานมาก และจากการตัดเนื้อเยื่อไปตรวจ พบว่ากระดูกที่มายึดเกาะมีความหนาแน่นน้อยกว่า แบบอื่นๆ แต่ก็แข็งแรงพอสำหรับการรับน้ำหนักการบดเคี้ยวตามปกติ ในเมืองไทย ที่นิยม ก็ได้แก่ Branemark รุ่น Mk I,II,III,IV

2.รากเทียมแบบผิวขรุขระ

     Hydroxyapatite coat (HA) เป็นสารที่สมัยก่อน ใช้นิยมในการปลูกเสริมกระดูก นำมาเคลือบตัวรากเทียม โดยมุ่งหวัง ให้เกิดการสร้างกระดูก นิยมใช้กันเป็นอย่างมากอยู่ระยะหนึ่ง เพราะการเกิด Osseointegration ค่อนข้างเร็ว ต่อมาพบว่า บางครั้งมีการหลุดลอกของชั้น HA ทำให้รากเทียมหลุด เกิดความล้มเหลว ความนิยมจึงเริ่มลดลงแต่เปอร์เซ็นต์ความล้มเหลว ก็ไม่นับว่าสูงมากนัก ผู้ที่ใส่รากเทียมประเภทนี้ จึงไม่ต้องกังวลใจเกินไป

     Titanium Plasma Sprey (TPS) เป็นการใช้ Titanium เหลวอัดด้วยแก๊สพ่นไปที่ตัวรากเทียม เพื่อให้ไปเกาะที่ผิวรากเทียม ทำให้ผิวหยาบ เพิ่มพื้นที่ผิว ปัญหาที่พบ คือ ขั้นตอนการผลิด ถ้าหากควบคุมมาตรฐานไม่ดีพอ อาจมีการปนเปื้อนของแก๊สในตัวรากเทียม ทำให้มีบางตำแหน่งไม่เกิด Osseointegration แต่ก็พบได้น้อยมาก จึงยังเป็นทีนิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน

     Acid Etched Surface เป็นหลักการเพิ่มพื้นที่ผิวให้กับรากเทียม โดยใช้กรดกัดผิวโลหะ แต่ละบริษัทจะมีสูตรเฉพาะของตนเองและเรียกชื่อผิวในลักษณะของการค้า รากเทียมส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีนี้ เพราะเป็นวิธีที่ให้ผลการยึดเกาะระหว่างกระดูกกับรากเทียมได้ดี ทำให้เกิดความแข็งแรงย่นระยะเวลาการรักษาเข้ามา ทำให้ใช้เวลาน้อยลง ปัจจุบันเริ่มมีความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

ขอขอบคุณข้อมูจาก dentistry.kku.ac.th